The Automatic Millionaire
หนังสือ The Automatic Millionaire ของ David Bach มันหนังสือที่เก่ามากแล้ว เป็นหนังสือที่ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ Apr 2005.
เนื้อหาอะไรหลาย ๆ อย่างสำหรับปี 2018 เราคิดว่าเป็นเนื้อหาและความรู้ที่หลาย ๆ คนคงรู้หรือได้ยินกันมาบ้างแล้ว
เราก็รู้จักหนังสือเล่มนี้จากการฟัง podcast ของ Tim Ferriss ก็เลยซื้อ audiobook มาฟัง
เนื้อหาและ concept ของหนังสือเล่มนี้คือพูดถึงเรื่องการจัดการเรื่องการเงินของแต่ละบุคคล
เราไม่จำเป็นต้องมีรายได้หรือเงินเดือนที่เยอะแยะมากมาย แต่ถ้าเรารู้จักที่จะแบ่งเงินรายได้ของแต่ละเดือนออกเป็นสัดส่วน เราก็สามารถประสบความสำเร็จทางด้านการเงินได้ อย่างเช่น
- เงินเดือนที่ได้มา 10% ให้หักออกไปจากรายได้เราเลย เพื่อการลงทุนระยะยาว ดังนั้นเราก็ควรที่จะมีการวางแผนเพื่อการลงทุนระยะยาวด้วย หลาย ๆ คนอาจจะบอกว่า แค่ทุกวันนี้ก็จะไม่มีกินอยู่แล้ว แต่ก็อยากจะให้ลองทำกันดูนะครับ อย่างเช่น ถ้าเรามีรายได้มา $100 เราก็เก็บเอามาใช้จ่าย นั่น นี่ โน่น $90 ส่วน 10% ของรายได้เนี๊ยะให้หักจากรายได้ของเราไปเลยทันที ถ้า 10% นี้ไม่ได้เข้าบัญชีประจำของเรา เราก็จะไม่มีการหยิบเงินส่วนนั้นมาใช้ บางคนอาจจะเปิดบัญชีเป็น long-term deposit หรือบางคนอาจจะหัก 10% เข้าบัญชี super ไปเลยก็ได้ เพราะ super คือการลงทุนระยะยาว ส่วนตัวเราเอง งานของ "J Migration Team", เราให้ลูกค้าที่ทำ case consult กับเราโอนตังค์เข้าบัญชีของ Brickx.com.au ที่เราเปิดเอาไว้เพื่อการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ เพราะตังค์พวกนี้ไม่ได้เข้าบัญชีสำหรับการใช้จ่าย เราจับต้องไม่ได้ เราก็จะไม่ใช้จ่ายมัน ซึ่งถ้าหากเราให้เงินทุกบาททุกสตางค์เข้ามาบัญชีส่วนตัวเรา เราจับต้องได้ง่าย เราก็จะมีการจับจ่ายได้ง่ายเช่นเดียวกัน นี่ก็อีกหนึ่ง strategy ที่เราใช้ หลาย ๆ คนก็ลองนำเอาไปประยุกต์ใช้ได้นะครับ นี่ก็ถือว่าเป็นอีกระบบที่ automate คือเรา set ระบบทุกอย่างเอาไว้แล้ว ก็ไม่ต้องคอยจัดการเรื่องนี้ทุกวัน set ให้เป็นระบบ แล้วก็ลืมมันไปเลย ไม่ต้องไปจับต้องมันอะไรมาก ไม่ต้องไปเปลี่ยนแปลงอะไรมาก
- หลาย ๆ คนอาจจะบอกว่า รายได้ไม่มากพอที่จะเก็บสะสม แต่ทุกวัน ทุกเช้า เขามีเงินจ่ายค่ากาแฟ ถ้าเป็น Soy Latter แก้วใหญ่ที่เราเคยสั่งประจำก็ $5.50 ราคาประมาณนี้ แล้วแต่ร้าน ถ้าเราสั่งดื่มทุกวันจนเป็นนิสัย นั่นคือ
$5.50 x 356 วัน = $1,958 ต่อปี
หลาย ๆ คนก็อาจจะสั่ง muffin หรือ babana bread ด้วย สำหรับ breakfast ตอนเช้าก่อนไปขึ้นไปทำงานที่ office, muffin หรือ babana bread ที่ cafe หลาย ๆ ที่แถวออฟฟิตเราที่ Wollongong ก็ตกประมาณ $3.5 ถึง $3.80
นั่นคือ
$3.50 x 52 weeks x 5 วันที่ทำงาน Mon-Fri = $901
เอาเป็นว่า เราคำนวณว่า เราดื่มกาแฟทุกวัน $5.50 x 356 วัน = $1,958 ต่อปี
แต่ซื้อ muffin เฉพาะวันที่ทำงาน
$3.50 x 52 weeks x 5 วันที่ทำงาน Mon-Fri = $901
นั่นคือ $1,958 + $901 = $2,868 ต่อปี
นี่คือรายจ่ายที่หลาย ๆ คนจ่ายตอนเช้าก่อนขึ้นไปทำงานที่ office
แล้วไหนจะช่วง coffee break, ช่วง afternoon break อีกหละ
นี่คือเราคำนวณแค่กาแฟวันละแก้วต่อวันนะ
หลายคนอาจจะสั่งหลายแก้ว รายจ่ายก็จะเพิ่มขึ้นตรงจุดนี้
นี่เป็นอะไรที่เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่หลาย ๆ คนมองข้าม
หลาย ๆ คนคิดแค่ว่ามันคือรายจ่ายของแค่วันนั้น แต่เราลืมที่จะคูณด้วย 356 เพราะปีหนึงมี 356 วัน
หากเราสามารถหักรายจ่ายตรงจุดนี้ออกไป $2,868 ต่อปี แล้วเอาตังค์ตรงจุดนี้ไปลงทุนทุก ๆ ปีเป็นระยะเวลา 10 ปี
$2,868 x 10 = $28,680.00
แต่มันต้องได้เยอะกว่า $28,680 อยู่แล้ว เพราะถ้าฝากเป็นเงินฝากประจำแบบ long-term deposit มันก็ต้องได้ดอกเบี้ยที่สูงกว่าอยู่แล้ว หรือเราก็สามารถนำเอาตังค์ตรงจุดนี้ไปซื้อหุ้น ไปลงทุนอะไรก็ว่าไป และถ้าจะซื้อหุ้นก็คือซื้อหุ้นแบบ "ซื้อแล้วเก็บ" เป็นการซื้อเพื่อการลงทุน investing (investor) ไม่ได้เป็นแบบซื้อมา ขายไป แบบนั้นจะเป็นแบบ trading (trader)
เราจะเห็นได้ว่า การลงทุน ไม่จำเป็นต้องรอให้รวยหรือมีตังค์เยอะ ๆ ก่อนถึงจะสามารถลงทุนได้
มันขึ้นอยู่กับการบริหารเงิน และแนวคิดด้วย
David Bach ก็ได้ยกตัวอย่างพวก case study ที่น่าสนใจหลาย ๆ case อย่างเช่น
คน ๆ หนึ่งทำงานเป็นบุรุษไปรษณีย์ เป็นพนักงานประจำ มีรายได้ประมาณแค่ US$40,000 ต่อปี สมัยโน้น นานมาแล้ว แต่เขาก็ทำเป็นระบบ automatic มีการหักเงินรายได้ก่อนจ่ายเข้าไปอีกบัญชีหนึ่งเพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เขาทำอย่างนี้ทุก ๆ เดือน ทุก ๆ ปี
พอเกษียณ เขามีเงินในบัญชีของเขาหลายล้าน US$ มาก
นี่ก็เป็น 1 case study นะครับ ไม่ได้หมายความว่าทุกคนต้องลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ แต่ concept คือถ้าเราทำอะไรที่เป็น automatic ทุก ๆ เดือน ทุก ๆ ปี ทุกอย่างก็จะค่อย ๆ เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาเอง โดยที่เราไม่จำเป็นต้องคอยไป manage หรือดูแลทุกวัน เราก็ดำเนินชีวิตของเราไปตามปรกติ
Anyway.... ใครจะได้ idea หรือ concept อะไรจาก blog นี้ จาก post นี้ ก็สุดแล้วแต่การเลือกที่จะคิดขอแต่ละคนนะครับ
No comments:
Post a Comment