Saturday, December 28, 2019

คิดแล้วต้องทำให้สำเร็จ นี่แหละยิว


เป็นหนังสืออีกหนึ่งเล่มที่เขียนถึงการทำงานและวิธีคิดของยิว แต่เล่มนี้เขียนโดยคนไทย ไม่ใช่หนังสือแปล

เราคิดว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ควรอ่านช้า ๆ 
ไม่เร่งรีบ
และควรจะอ่านหลาย ๆ รอบ เพราะเนื้อหาของเขาดีจริง ๆ 
เราอ่านรอบแรกก็มีอ่านผ่าน ๆ ไปบ้าง
โชคดีที่ตัดสินใจลองกลับมาอ่านอีกรอบ (เพราะจำไม่ได้ว่า รอบแรกอ่านอะไรไปบ้าง) 

บางทีกับการที่เราทำอะไรช้าลงไปบ้าง มันก็อาจจะได้ประโยชน์มากกว่านะ มันได้คิดตามไปด้วยเวลาอ่านหนังสือ

คนเชื้อสายยิวที่ดัง ๆ ก็มี Steve Jobs, Bill Gates และ Mark Zuckerberg

เป็นหนังสืออีกหนึ่งเล่มที่เราอยากจะแนะนำให้ทุก ๆ คนลองอ่านดู

เปิดหน้าแรกมาก็มีเนื้อหาและแง่คิดดี ๆ แล้ว

ข้อคิดหลาย ๆ อย่างจากหนังสือเล่มนี้:

สิ่งที่คนอื่นทำ ยิวไม่คิด
สิ่งที่คนอื่นคิด ยิวไม่ทำ (หน้าแรก)

คนยิวจะคิดไตร่ตรอง คิดเยอะ ๆ ในสิ่งที่เขาจะทำ ไม่คิดเพียงแค่มุมเดียว เมื่อคิดแล้วก็ลงมือทำอย่างมุ่งมั่น ไม่มีคำว่าท้อถอย ถ้าไม่สำเร็จก็ไม่เลิก และพวกเขามักจะมองเรื่องของความเสี่ยงมากกว่าคำว่า "กำไร ขาดทุน หรือเสมอทุน" (คำนำผู้เขียน)

ประตูแห่งความสำเร็จไม่มีอัตโนมัติ 
อยากสำเร็จก็ต้องลงมือทำ
เหมือนกับคนที่ต้องใช้มือเปิดประตูด้วยตัวเอง (p.19)

เราต่างไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในวันนี้
เหตุใดจึงต้องกังวลถึงวันพรุ่งนี้ด้วย  (p.72)

นักเรียนยิว ที่จบ high school แล้ว ถ้าเป็นรัฐอิสราเอล
ผู้ชายต้องไปเกณฑ์ทหารก่อน 3 ปี
ผู้หญิงก็ต้องไปเกณฑ์ทหารก่อน 2 ปี
เมื่อพ้นจากการเกณฑ์ทหารแล้ว เด็กยิวก็จะยังไม่ต่อปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเลยทันที ส่วนใหญ่จะถูกแนะนำให้ออกไปหาประสบการณ์การทำงานและท่องในเที่ยวโลกภายนอกกันคนละ 1-2 ปี
หลังจากนั้นจึงมาต่อปริญญาตรี
เด็กยิวในรัฐอิสราเอลจึงจบปริญญาตรีช้ากว่าเด็กไทยประมาณ 4-5 ปี
แต่เมื่อเป็นบัญฑิตแล้ว เด็กยิวจะเป็นบัญฑิตที่สมบูรณ์มากกว่าบัญฑิตของชนชาติอื่น เพราะผ่านประสบการณ์ชีวิตมาก่อน (p.74-75)

ความทุกข์คือแก่นแท้ของชีวิต
ผู้ที่ไม่เคยประสบความทุกข์ใด ๆ ย่อมไม่ถือว่าเป็นคนที่แท้จริง
เพราะความทุกข์เป็นส่วนใหญ่ของชีวิต (p.76)

คนยิวที่ทำธุรกิจ ไม่มีแนวคิดแสวงหาลูกค้าแบบจำนวนมากเพื่อมาเป็นฐานที่ตั้ง
แต่คนยิวจะนิยมลูกค้าที่อยู่บนยอดเขา (ลูกค้าเกรดดี) มากกว่าลูกค้าที่เชิงเขา
มุ่งไปสู่ที่สูง เพื่อไหลลงต่ำเองโดยธรรมชาติ
เขาเชื่อว่า การมีแนวคิดการทำการค้าแบบนี้ จะทำให้ธุรกิจอยู่ได้นาน
เมื่อชนชั้นบนระดับเศรษฐีนิยม เดี๋ยวความนิยมนั้นก็จะไหลบ่าลงมาที่ด้านล่างเอง ธุรกิจของเขานั้น ก็จะอยู่ได้อย่างยาวนาน
เพราะทุกธุรกิจ จะมีกาลเวลาของตัวมันเอง (p.84-85)

ทุกความสำเร็จเป็นเพราะทุกสรรพสิ่ง
ก็เพราะทุกสรรพสิ่งลงตัวกันพอดี 
จึงทำให้เกิดความสำเร็จ (p.88)

ปรกติทั่วไปเราย่อมรู้กันดีว่า
เหรียญจะมีเพียง 2 ด้าน
แต่ด้านที่ 3 ของเหรียญคืออะไร
นี่เป็นปรัชญาอย่างหนึ่ง เวลาที่จะต้องทำธุรกิจ
ต้องทำแบบในมุมที่คนอื่นมองไม่เห็น (p.89)

คนทั่วไปทำธุรกิจจะมีมุมมอง 3 มุม
1. กำไร
2. ขาดทุน
3. เสมอตัว
แต่ยิวจะมีมุมมองหนึ่งก็คือ "ความเสี่ยง" (p.90)

อย่าอยู่รวมกันทั้งหมดเป็นกระจุก
ควรแยกกันอยู่
แต่หมั่นติดต่อกันเสมอ
"แยกกันเดิน ร่วมกันตี" (p.94)

ทำในสิ่งที่ดีที่สุด
เพราะมันจะมีราคาแพงที่สุด (p.102)

ของที่ดีที่สุดในโลกย่อมมีราคาแพง
และมีความต้องการสูงกว่าของธรรมดา (p.103)

ของดีที่สุดคนมักต้องการ
ยิ่งเป็นของดี ยิ่งจะมีผู้ต้องการมาก
ทำการค้าไม่เน้นจำนวน แต่เน้นมูลค่าของตัวเลข ที่เป็นรายได้เป็นหลัก
ทำน้อยแต่ได้มาก
ไม่ใช่ทำมากแต่ได้ไม่คุ้มเหนื่อย (p.105)

เมื่อทำ ย่อมเกิดความสำเร็จ (p.119)

ทุกคนมีทุนอยู่แล้ว
แต่เพราะไม่เอามาใช้
จึงบอกว่าไม่มีทุน (p.123)
1. ทุนสมอง
2. ทุนแรงงาน
3.  ทุนทรัพย์ (p.125)

สมองซีกซ้าย เอาไว้จดจำ คำนวณ
สมองซีกขวา เป็นสมองทางด้านการสร้างสรรค์ จินตนาการ
ถ้าอยากประสบความสำเร็จ
ก็ลองเปลี่ยนวิธีคิด
คิดใหม่ ทำใหม่
ใช้สมองซีกขวาอีก 10%
เราก็จะประสบความสำเร็จแล้ว (p.130-131)

Steve Jobs:
"ความตาย เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ธรรมชาติให้เรามา มันเป็นการนำความเปลี่ยนแปลง กำจัดของเก่า เพื่อสละพื้นที่ให้กับของใหม่" (p.223)

อย่าทิ้งความกระหาย
อย่าคลายความเชื่อ
Stay Hungry. Stay Foolish. (p.249)

280 หน้า
ราคา: 189

เป็นอีกหนังสือหนึ่งเล่มที่เราแนะนำนะครับ
อ่านง่าย
ได้ข้อคิดอะไรหลายอย่าง

Tuesday, May 28, 2019

พี่งใครไม่ได้เลย


ก็อาจจะมีบ้างเป็นบางช่วงของเวลาที่คนเรามีความรู้สึกว่าเรา "พึ่งใครไม่ได้เลย"

แต่ลองคิดใหม่กันดีกว่าไหมว่า
แล้วทำไมเราต้องไปพึ่งใครคนอื่นด้วยละ

แล้วทำไมเราไม่พึ่งตัวเราเอง

ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตนหรือเปล่า

เหตุการณ์บางเหตุการณ์เราอาจจะมีความรู้สึกว่า โลกทั้งใบได้ล้มทับมาที่ตัวเรา 

เราอยู่ในจุดที่ต่ำที่สุดของชีวิต

ดีซะอีกไม่ใช่เหรอถ้าวันนี้เราได้อยู่ในจุดที่ต่ำที่สุดของชีวิตเรา เพราะมันจะลงต่ำไปกว่านี้ไม่ได้แล้ว ที่เหลือต่อจากนี้ มันก็มีแต่จะดีขึ้น ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ  

ทุกเหตุการณ์ในชีวิตของคนเรา มันคือบททดสอบของชีวิต

แหงนหน้ามองฟ้า แล้วบอกกับฟ้าเบื้องบนสิว่า "หนักกว่านี้มีอีกไหม" แล้วก็ก้มหน้า สู้ชีวิตกันต่อไป

ปัญหาทุกอย่าง มีเอาไว้ให้เราแก้
ไม่ใช่มีเอาใว้ให้เราท้อ
ทุกสิ่งอย่างคือบททดสอบของชีวิต
บนโลกใบนี้ มันไม่มีที่ให้ยืนสำหรับ "ผู้แผ้" แล้วเราจะยอมแพ้เหรอ

ชีวิตคนเรา เจอะเจอปัญหาอะไร อย่าเพิ่งท้อ
มันยังมีอีกหลายคนก็หนักกว่านี้ ที่หนักว่าเรา
บอกกับตัวเองง่าย ๆ สั้น ๆ ว่า แค่นี้เหรอ "เอาอยู่"

"พี่งใครไม่ได้เลย" ก็ถูกต้องที่สุดแล้วจ๊ะ
ชีวิตนี้เป็นของเรา เราต้องพึ่งตัวเองสิ อย่าไปพึ่งคนอื่น
อันไหนที่เราไม่เก่ง ไม่ชำนาญในเรื่องนั้น ๆ เราก็ต้องหาที่ปรึกษา

ที่ปรึกษา
ไม่ใช่ที่พึ่ง

ที่ปรึกษาก็มีเอาไว้ปรึกษา ไม่ได้มีเอาไว้พึ่งพาหรือแอบอิง
เราจะต้องแยกกันให้ออก

หาที่ปรึกษา ปรึกษาแล้ว สุดท้ายแล้วการตัดสินใจและการกระทำทุกอย่างก็ต้องขึ้นอยู่ที่เราแล้วหละ

เราจะต้องไม่เอาชีวิตเราไปฝากไว้กับใคร
ชีวิตเรา เราจะต้องกุมบังเหียนชีวิตของเราเอง

คนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน

เลิกโทษฟ้า เลิกโทษชะตา
เลิกเล่นบทเหยื่อ
เลิกเล่นบทผู้แผ้
เลิกเล่นบทผู้ถูกกระทำ

"ดาวพระศุกร์" ในยุค 4.0 แบบนี้ มันไม่มีมานานแล้วจ๊ะ

ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตของใครก็ตามแต่
เราก็ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจนะครับ
เจอปัญหาอย่าท้อ

ปัญหามีเอาไว้แก้
แก้กันไปทีละเปราะ แล้วทุกอย่างก็จะค่อยคลี่คลายไปเอง

เหนื่อยได้ ท้อได้ แต่หย่าหยุด

เราขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนนะครับ

Tuesday, April 30, 2019

คิดแบบยิว ทำแบบญี่ปุ่น เล่ม 2; บริหารเงินสไตล์นายธนาคารยิว

หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Honda Ken, เป็นเล่มที่ 2 ต่อจากเล่มแรก เรายังไม่ได้อ่านเล่มแรก พออ่านเล่ม 2 จบก็มีความรู้สึกอยากจะอ่านเล่มแรกขึ้นมาเลยทันที

Honda Ken เขียนหนังสือเล่มแรกในช่วงที่เขาลาพักงานเมื่อมาดูแลลูก ช่วงที่เขาเป็น stay at home dad

หนังสือเล่มนี้เขียนเรื่องราวและแนวคิดเรื่องการเงินได้อย่างน่าสนใจ

266 หน้า
ราคา 230 บาท

เป็นหนังสือเล่มเล็ก ๆ บาง ๆ อ่านง่าย
หนังสือของญี่ปุ่นจะเป็นแบบนี้กันทั้งนั้น คือ "เล่มเล็ก ๆ อ่านง่าย"

ถ้าใครเคยอ่านหนังสือพวกแนวจิตวิทยาทางการด้านการเงิน ก็พอจะรู้ว่า หนังสือหลาย ๆ เล่มก็เชื่อมโยงกัน หลักแนวคิดและการวิเคราะห์อะไรหลาย ๆ อย่าง

หนังสือเล่มนี้ก็เหมือนกัน
ถ้าใครเคยอ่าน "Think and Grow Rich" ของ Napoleon Hill ก็พอจะรู้ว่ามันมีอะไรหลาย ๆ อย่างคล้าย  ๆ กัน

นี่แหละผลดีของการเป็นคนชอบอ่าน
คือเราสามารถเชื่อมโยงแนวความคิดและ concept ของหนังสือหลาย ๆ เล่มเข้าด้วยกันได้

เพราะคนเขียนเองหลาย ๆ คน ก่อนที่จะมาเป็นนักเขียน เขาก็ต้องเป็นนักอ่านก่อน คือต้องการทำการ research ค้นคว้าหาข้อมูลด้วย และก็ผสมผสานเรื่องราวและประสบการณ์ของแต่ละคนเข้าไป มันก็ทำให้หนังสือออกมามีเอกลักษณ์ของตัวเองได้

หนังสือเล่มนี้เขียนในแบบของรูปนิยาย มีบทสนทา มันก็เลยทำให้อ่านง่าย ถึงแม้ว่าตัวละครเป็นแค่เรื่องสมมุติ แต่ Honda Ken ก็เขียนและเรียบเรียงได้ดี

หนังสือเล่มนี้กว่าถึงการบริหารและมุมมองที่เกี่ยวกับ "เงิน" จากมุมมองของเศรษฐีชาวยิว

หลักใจความสำคัญคือ "การให้" ซึ่งก็หมายความว่าก่อนที่เราจะได้รับทรัพย์ เราก็ต้องสร้างคุณค่ากับโลกใบนี้ก่อน สร้างคุณค่าให้คนหมู่มาก แล้วทรัพย์สิน เงินทอง และความมั่งคั่งก็จะหลั่งไหลมาเป็นสายน้ำ ไม่ขาดสาย

คำว่า "ให้" ในที่นี้ก็หมายถึง การให้สินค้า การให้บริการ อะไรหลาย ๆ อย่างที่ต้องแตกต่างไปจากคนอื่น ที่ต้องแตกต่างไปจากคู่แข่ง

เมื่อไหร่ที่ลูกค้าเป็นฝ่ายเดินเข้ามาหาเราเอง เมื่อนั้นเราก็จะมีความมั่งคั่งแบบไม่หยุดหย่อน

หลักการแบบนี้ก็เหมือนหลักการของ "Blue Ocean" เหมือนกัน เห็นมั้ยหนังสือที่เราเคยอ่านอีกเล่ม

หนังสือเล่มนี้ก็ได้มีเขียนถึง:
- ศักยภาพในการหาเงิน
- การใช้ชีวิตอย่างสง่างาม
- การใช้ชีวิตเพื่อความรักและการอุทิศตน
- การแบ่งปัน
- ให้มากกว่าที่เขาควรจะได้ ไม่ว่าจะเป็นค่าแรงพนักงาน การบริการให้มากกว่าลูกค้าจ่าย หรือเล็ก ๆ น้อย รวมไปถึงการให้ทิปกับพนักงานในโรงแรมหรือร้านอาหาร อย่างนี้เป็นต้น

เอาสั้น ๆ แค่นี้พอนะครับ เดี๋ยวจะมีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ เดี๋ยวคนจะไม่ไปซื้อหนังสือกัน

230 บาท เป็นการลงทุนกับตัวเองที่ไม่แพงเลย
ดีกว่าไปซื้อกาแฟดื่มแล้วก็ฉี่ออกมาเป็นไหน ๆ 
กาแฟที่เมืองไทย บางแก้วก็ราคาประมาณนี้แหละ
ไม่ได้อร่อยอะไรเลย บางคนดื่มเพราะ logo ของแก้วสวย ดื่มแล้วดูมี class 

โถพ่อคุณ พวกหลอกตัวเอง

ลองดูนะครับ
ลองลงทุนกับตัวเองดู

รักการอ่าน
การอ่านจะช่วยเปิดโลกทัศน์ให้เรา

Thursday, February 28, 2019

ไม่มีใครถูก ไม่มีใครผิด

"ไม่มีใครถูก ไม่มีใครผิด"


ทุกสิ่งอย่างบนโลกใบนี้

ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม

สิ่งของสิ่งเดียวกัน

เหตุการณ์เหตุการณ์เดียวกัน

แต่ถ้าหากคนที่มอง มองมาจากคนละมุม มองมาจากคนละสถานที่ จุดที่เขายืนที่แตกต่าง สิ่งที่ทุกคนเห็นก็อาจจะแตกต่างกันออกไป


ทุกสิ่งอย่างบนโลกใบนี้ ไม่มีใครถูก ไม่มีใครผิด


มันขึ้นอยู่กับมุมที่เขามองมา และจุดที่เขายืน


วัตถุสิ่งของ 1 อย่าง

ถ้าหากเรามองมาจากด้านซ้ายมันก็จะเป็นแบบหนึ่ง

ถ้าหากเรามองมาจากด้านขวามันก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง

ถ้าหากเรามองมาจากด้านบนมันก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง

ถ้าหากเรามองมาจากด้านล่างมันก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง


สิ่งของสิ่งเดียวกัน แต่สิ่งที่ทุกคนเห็น มันก็จะแตกต่างกันไป ถ้าบุคคลเหล่านั้นยืนอยู่คนละจุด ยืนอยู่คนละที่

หากเราสามารถคิดเช่นนี้ได้

โลกนี้ก็จะดูสวยงามขึ้นมาอีกเยอะ

คนเราก็จะเคารพความคิดต่าง

คนเราก็จะเคารพสิทธิของกันและกัน


ทุกอย่างบนโลกใบนี้

มันไม่มีอะไรถูก มันไม่มีอะไรผิด

มันขึ้นอยู่กับมุมมอง เหตุผล และวิธีคิดของคนคนนั้น ของพวกเขาเหล่านั้น


เราต้องยอมรับในความคิดต่าง

เราต้องเคารพในสิทธิของกันและกัน


เราต้องลองเอาตัวของเราไปยืน ณ จุดที่เขายืนอยู่

แล้วเราอาจจะเข้าใจ

แล้วเราอาจจะเห็นในสิ่งที่เขาเห็นก็ได้


โลกนี้สวยงามเสมอ

หากทุกคนเข้าใจซึ่งกันและกัน

หากทุกคนยอมรับในความเห็นต่าง

เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน


โลกนี้สวยงามเสมอ

ทุกสิ่งอย่างมันขึ้นอยู่กับมุมที่เราเลือกจะมอง

สถานที่ที่เราเลือกจะอยู่

มุมที่เราเลือกจะอยู่

มุมที่เราเลือกจะเห็น

สิ่งที่เราเลือกจะเป็น


ทุกอย่างเราเลือกได้


การตัดสินใจของใครของมัน

มันไม่มีใครถูก มันไม่มีใครผิด


เมื่อเราคิดได้เช่นนี้

ชีวิตเราก็จะมีความสุขขึ้นเยอะ

ประสบการณ์และเหตุการณ์อะไรต่าง ๆ มันสอนเราได้เยอะ

และต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตที่มันเกิดขึ้นกับเรา


เราต้องสามารถนำเอาประสบการณ์เหล่านั้นมาปรับปรุงและแก้ไข เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตต่อไป


แล้วชีวิตเราก็จะเจอความสุขที่แท้จริง

Sunday, February 17, 2019

อิคิไก ความหมายของการมีชีวิตอยู่


ช่วงนี้ที่เมืองไทยกำลังฮิตกันเรื่อง อิคิไก
เรากลับเมืองไทยเมื่อเดือนที่แล้วก็เลยซื้อหนังสือเล่มนี้ติดมือมาซะหน่อย

อิคิไก คือความหมายของการมีชีวิตอยู่

อิคิไก หรือ Ikigai คือปรัชญาญี่ปุ่น
เราก็พอมีความรู้เรื่องอิคิไกอยู่บ้าง เราก็ดูจากพวก facebook LIVE และก็บวกกับเราเป็นคนที่ศึกษาเรื่องปรัชญาการใช้ชีวิตอยู่แล้ว

อิคิไกสำหรับเราไม่ใช่เรื่องแปลก
มันก็คล้าย ๆ ปรัชญาของพระพุทธศาสนา
มันก็คล้าย ๆ หนังสือ Start with WHY ของ Simon Sinek

หนังสืออิคิไกเล่มนี้เขียนโดย Ken Mogi และแปลโดย วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ

หนังสือเล่มเล็ก พกพาสะดวก
262 หน้า อ่านแป๊บเดียวจบ เพราะเรื่องราวหลาย ๆ เรื่องในหนังสือเล่มนี้ เราก็พอมีความรู้มาบ้างแล้ว อย่างเช่นเรื่องของคุณปู่จิโร เจ้าของร้านซูซิชื่อดัง อย่างนี้เป็นต้น

หนังสือเล่มนี้พูดถึง 5 เสาหลักของ Ikigai คือ:
  • การเริ่มต้นเล็ก ๆ 
  • การปลดปล่อยตัวเอง
  • ความสอดคล้องและยั่งยืน
  • ความสุขกับสิ่งเล็ก ๆ 
  • การอยู่ตรงนี้ ตอนนี้

โดยส่วนตัวแล้วเราก็คิดว่าเรามีอิคิไกอยู่แล้ว
เพราะชีวิตเราก็ผ่านอะไรมาเยอะ
อายุก็ขนาดนี้แล้ว ไม่ใช่เด็ก ๆ 

โดยส่วนตัวแล้ว 
 - เรามีความสุขกับสิ่งเล็ก ๆ 
- เรามีความสุขกับปัจจุบัน ซึ่งมันก็แก่นเป็นหลักของพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว

อิคิไกก็คือธรรมชาติ
ธรรมะก็คือธรรมชาติ

ถ้าใครได้ศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง
เรื่องอิคิไกก็ไม่น่าจะมีปัญหา

การปลดปล่อยตัวเองก็เหมือนกัน มันคือการไม่มีอัตตา ซึ่งมันก็แก่นเป็นหลักของพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว

การเริ่มต้นเล็ก ๆ ก็เหมือนกัน ถ้าใครที่ชอบอ่านหนังสือพวก self improvement และต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต เราคิดว่าทุกคนรู้เรื่องนี้ดี

เราชอบคำนิยมของบรรณาธิการ ที่บอกว่า

การที่เราสิ่งต่าง ๆ ก็เพราะเราอยากทำมัน 
ไม่จำเป็นต้องมีใครมาชื่นชมหรือสนใจ

การเขียนต้นฉบับที่ไม่มีคนอ่าน
การเขียนเนื้อเพลงที่ไม่มีใครฟัง
การทำอาหารที่มีแต่เรากิน

ซึ่งก็คล้าย ๆ กันกับเราที่ทำอะไรหลาย ๆ อย่างเพราะอยากจะทำ และมีความสุขกับการทำ

การทำ Video clip ลง YouTube ที่ไม่มีคนดู
การทำ podcast ที่ไม่มีคนฟัง
การเขียน blog ที่ไม่มีคนอ่าน
การเขียน ebook ที่ไม่มีคนอ่าน

หนังสือเล่มเล็ก ๆ เล่มนี้ อ่านง่าย
ราคาไม่แพง 299 บาท

ถ้าใครมีโอกาสเราก็อยากจะลองให้อ่านกันนะครับ
เราคิดว่าไม่ผิดหวัง


Tuesday, January 1, 2019

ไม่ใช่ที่ของเรา


ก็อาจจะมีบ้างเป็นบางที ที่เรามีความรู้สึกว่า สถานที่บางสถานที่มันไม่ใช่ที่ของเรา

หรือสถานที่ที่อยู่แล้วเรามีความรู้สึกว่า “มันไม่ใช่”
มันไม่ค่อยก้าวหน้า

ถึงแม้ว่าสถานที่นั้น ๆ มันไม่ได้มีอะไรผิดปรกติเลย เพียงแต่ว่ามัน “ไม่ใช่” สำหรับเรา อาจจะด้วยคุณลักษณะของสถานที่ และมันเป็นแบบนั้นของมันเอง

ลักษณะนิสัยและการทำงานของคนที่อยู่ในสถานที่แห่งนั้นก็จะเป็นอีกแบบหนึง ซึ่งมันก็ไม่ผิดอะไร เพราะสถานที่แห่งนั้นมันก็อาจจะเหมาะกับลักษณะนิสัยการทำงานของคนแบบนั้นซึ่งมันอาจจะไม่เหมาะสำหรับเราก็เป็นได้

สถานที่แห่งนั้นมันอาจจะ “ไม่ใช่” สำหรับเรา ก็แค่นั้นเอง

เมื่อไหร่ก็ตามถ้าเราคิดว่าสถานที่บางสถานที่มันไม่ใช่ ไม่เหมาะสำหรับเรา เมื่อเราอยู่แล้วรู้สึกว่าไม่เติบโต ไม่ว่าจะด้านความคิด หน้าที่ การงาน หรืออะไรก็ตามแต่ เราคิดว่าบางทีการที่เราแยกตัวออกมา หรือเอาตัวออกห่าง มันก็อาจจะเป็นการดีก็ได้ เพื่อที่เราจะได้เติบโตในแบบที่เราต้องการ เพื่อที่เราจะได้สามารถใช้ศักยภาพของเราที่มี ได้อย่างเต็มที่

สำหรับคนที่ต้องการที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต เราต้องคอยหมั่นเช็ค มั่นดูเสมอว่า สถานที่ที่เราอยู่ณปัจจุบันนั้น เราได้ใช้ศักยภาพของเราได้อย่างเต็มที่หรือเปล่า สิ่งที่เราทำนั้นมันให้ผลตอบแทนได้อย่างเต็มที่หรือเปล่า

ถ้าคำตอบว่า “ใช่” เราก็อยู่ในสถานที่นั้น ๆ ต่อไป

แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่คำตอบหรือความรู้สึกมันบอกเราว่า “ไม่ใช่” เราก็ควรที่จะแยกย้ายหรือมองหาสถานที่แห่งใหม่

เพื่อที่เราจะได้เติบโตให้เต็มที่

เพื่อที่เราจะได้ใช้ศักยภาพของเราให้เต็มที่

คนเราถ้าอยากจะประสบความสำเร็จในชีวิต เราก็ต้องอยู่ให้ถูกที่ และถูกเวลาด้วย

Be at the right place and the right time.